สกรีนเสื้อแบบพลาสติซอลทรานเฟอร์

สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีความคุ้นเคยกับงานสกรีนเสื้อคงยังไม่คุ้นกับคำว่า"พลาสติซอลทรานเฟอร์" โดยเฉพาะในเมืองไทยที่งานประเภทนี้ไม่แพร่หลายมากนัก ดังนั้นขออธิบายกระบวนการคร่าว ๆ นะครับ ในงานสกรีนพลาสติซอลทราเฟอร์ จะแยกเป็น 2 กระบวนการหลัก ๆ อย่างชัดเจนคือ

1.กระบวนการสกรีนแบบซิลค์สกรีน หลักการทำงานคือการปาดสี(หมึกพิมพ์)ผ่านบล็อก(แม่พิมพ์) สีจะทะลุส่วนที่เป็นลวดลายบนบล็อคติดลงไปบนเนื้อผ้า แต่ในที่นี้สีที่ใช้ต้องเจาะจงเฉพาะสีพลาสติซอลเท่านั้นนะครับ และแทนที่จะสกรีนลงเสื้อตรง ๆ ก็สกรีนลงบนกระดาษทรานเฟอร์


2.กระบวนการทรานเฟอร์ นำลายที่ถูกสกรีนลงบนกระดาษในขั้นตอนแรกมารีดลงเสื้อด้วยเครื่องกดความร้อน(Heat press) ประเภทเดียวกับที่ใช้ในงานสกรีนแบบทรานเฟอร์



คำถามที่หลายคนสงสัย

ทำไมต้องทำให้ยุ่งยากโดยมี 2 ขั้นตอน ?
ตอบ เนื่องจากในบ้านเราแทบจะไม่มีร้านที่รับงานแบบพลาสติซอลทรานเฟอร์ทรานเฟอร์(เคยเห็นผ่านตาว่ามีบริษัทใหญ่ ๆ รับทำอยู่) เราเลยไม่ค่อยเห็นบริการประเภทนี้ในบ้านเรา แต่ในอเมริกาจะมีบริษัทที่รับทำแพร่หลายพอสมควร โดยให้บริการกับลูกค้าที่ต้องการสต๊อกลายเอาไว้ใช้เอง(หรือขาย) การสต๊อกลายก็คือการเก็บกระดาษที่มีลายสกรีนเรียบร้อยแล้วเอาไว้ เมื่อจะใช้ก็นำออกมารีดลายลงเสื้อได้เลย (ทั้งนี้ลูกค้าต้องมีครื่อง Heat Press ในงานทรานเฟอร์เพื่อรีดลายลงเสื้อด้วยตนเอง) แน่นอนว่าการสต๊อกกระดาษที่สกรีนลายแล้วย่อมมีความเสี่ยงในทางธุรกิจน้อยกว่าการผลิตเสื้อขึ้นมาเป็นตัว ๆ แล้วอาจจะไม่ได้ใช้หรือขายไม่ได้

ทำไมต้องเป็นสีพลาสติซอล ?
ตอบ สีที่ใช้ในงานสกรีนเสื้อมีหลากหลายประเภท แต่ที่เจาะจงสีพลาสติซอลเนื่องจากมีองค์ประกอบของพลาสติกซึ่งเมื่อถูกความร้อนจะหลอมละลายคืนสภาพได้ ดังนั้นเมื่อลายถูกสกรีนลงบนกระดาษ(ผ่านการอบความร้อนจนคงสภาพแล้ว) ลายนั้นสามารถนำมาใช้ได้อีกครั้งโดยการให้ความร้อนเพื่อให้สีพลาสติซอลหลอมละลายโดยอาศัยกรรมวิธีแบบทรานเฟอร์

ในเรื่องความคงทน ผิวสัมผัส จะเหมือนงานซิลค์สกรีนมั๊ย?
ตอบ ในเรื่องผิวสัมผัสและความคงทนจะเหมือนกับงานสกรีนแบบบล็อคที่สกรีนด้วยสีพลาสติซอลทุกประการไม่มีความแตกต่าง

สามารถใช้เทคนิคพิเศษอะไรได้บ้าง ?
ตอบ สามารถใช้เทคนิคเดียวกับงานซิลค์สกรีน เช่นการทำให้ลายมีความนูนผิวนุ่ม มีกากเพชรสะท้อน มีความวาวแบบเมทาลิค (โดยการผสมสารเติมแต่งลงในหมึกพิมพ์พลาสติซอล) และยังสามารถใช้เทคนิคให้เกิดความด้าน / มันวาว / หรือ ขรุขระ ของลายได้ด้วยการใช้เทคนิคการลอกกระดาษทรานเฟอร์ (ในกระบวนการทานเฟอร์) เช่นลอกร้อนเพื่อให้ผิวด้านลอกเย็นเพื่อเกิดผิวมัน หรือลอกทันทีหลังจากกดความร้อน เพื่อให้หมึกพิมพ์บางส่วนลอกติดมาพร้อมกระดาษเกิดพื้นผิวขรุขระ

ดูขั้นตอนการทำงานได้ที่นี่ครับ ขั้นตอนการทำงาน

  • สกรีนเสื้อแบบพลาสติซอลทรานเฟอร์
  • สกรีนทรานเฟอร์ลงบนเสื้อสีดำ
    เสื้อยืดสีดำสกรีนลาย
  • ประเภทการพิมพ์สกรีน
  • สกรีนฟรอยด์(เลเซอร์ทรานเฟอร์)
  • ทดสอบกระดาษทรานเฟอร์สำหรับเครื่องพิมพ์เลเซอร์
  • สกรีนเสื้อด้วยวิธีทรานเฟอร์ความร้อน
  • กระดาษทรานเฟอร์ไร้กรอบฟิลม์ (self weeding transfer paper)