สกรีนเสื้อด้วยวิธีทรานเฟอร์ความร้อน

นอกจากการสกรีนแบบซิลค์สกรีนโดยสกรีนหมึกพิมพ์ตรงลงบนเสื้อหรือเนื้อผ้ายังมีวิธีการพิมพ์สกรีนลวดลายแบบอ้อม(Indirect Screen Printing) โดยอาศัยความร้อนและแรงกดจากเครื่องรีดร้อนเป็นตัวทำปฏิกิริยานำพาหมึกพิมพ์หรือวัสดุที่เป็นลวดลายติดลงบนเนื้อผ้าซึ่งวิธีการสกรีนเสื้อโดยอาศัยการทรานเฟอร์ความร้อนสามารถแบ่งได้ดังนี้
อิงค์เจ็ททรานเฟอร์ คือการพิมพ์ลายด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทโดยใช้หมึกพิกเมนต์ลงบนกระดาษทรานเฟอร์ชนิดพิเศษซึ่งมีเนื้อฟิลม์บาง ๆ เป็นตัวช่วยยึดเกาะหมึกพิมพ์ให้ติดลงบนเนื้อผ้าคอตตอน 100% หรือเนื้อผ้าที่มีเส้นใยคอตตอนเป็นส่วนผสมหลัก โดยอาศัยความร้อนจากเครื่องรีดร้อนเป็นตัวทำปฏิกิริยาละลายเนื้อฟิลม์เคลือบทับลงบนหมึกพิม์และเนื้อผ้า ซึ่งชั้นฟิลม์นี้ในส่วนที่ไม่ใช่ลวดลายหากไม่ทำการตัดออกก่อนนำไปกดด้วยเครื่องรีดร้อนจะทำให้เนื้อฟิลม์เคลือบติดลงไปทำให้เห็นเป็นกรอบสีเหลี่ยมของเนื้อฟิลม์ ดังนั้นจึงต้องมีการตัด (Trimming) ให้เหลือแต่ลวดลาย ซึ่งถ้าเป็นลวดลายที่ซับซ้อนยากในการตัดก็จำเป็นต้องใช้เครื่องตัด Cutting plotter เข้ามาช่วย (หากลายไม่ซับซ้อนสามารถทำ die cut ด้วยมือ) หลังจากนั้นจึงนำไปรีดลงบนเสื้อด้วยเครื่องรีดความร้อน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันผู้ผลิตกระดาษทรานเฟอร์ชั้นนำได้คิดค้นและพัฒนาคุณสมบัติที่ทำให้เนื้อฟิลม์ที่ไม่ใช่ลวดลายสามารถหลุดลอกออกมาพร้อม ๆ กับการลอกแผ่นกระดาษที่เป็นพื้นหลังซึ่งเรียกกระดาษทรานเฟอร์ชนิดนี้ว่า Self Weeding หรือ Self Cutting Transfer paper สำหรับ ประเภทกระดาษทรานเฟอร์ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 แบบคือแบบที่ใช้กับเสื้อผ้าสีอ่อนและแบบที่ใช้กับเสื้อสีเข้ม และแบ่งตามคุณลักษณะการใช้งานในการลอกหลังจากการรีดร้อนได้ 2 แบบคือ ลอกขณะร้อน (Hot peel) โดยทำการลอกกระดาษที่เป็นพื้นหลังทันทีหลังจากกดด้วยเครื่องรีดร้อน และลอกแบบเย็น โดยเมื่อผ่านการกดทับด้วยเครื่องรีดร้อนต้องปล่อยให้เย็นลงก่อนจึงค่อยดึงกระดาษที่เป็นพื้นหลังออก ซึ่งการลอกทั้งสองแบบก็ให้ผลลัพท์ของผิวสัมผัสที่แตกต่างกัน โดยการลอกกระดาษขณะที่ยังร้อนอยู่จะใ้ห้ผิวสัมผัสที่บาง (soft hand) และที่ผิวหน้าจะด้านเนื่องจากมีลวดลายบางส่วนถูกลอกติดไปบนกระดาษที่เป็นพื้นหลัง ส่วนการลอกในขณะที่เย็นผิวสัมผัสจะมีความเงาและหนากว่า

ซับลิเมชั่นทรานเฟอร์( Sublimation Transfer ) เป็นการพิมพ์ลายด้วยหมึกซับลิเมชั่นลงบนกระดาษที่ใช้สำหรับหมึกซับลิเมชั่นโดยเฉพาะ ใช้พิมพ์ลายลงบนเนื้อผ้าใยสังเคราะห์ 100% หรือเนื้อผ้าที่มีเส้นใยสังเคราะห์เป็นส่วนผสมหลัก กระดาษด้านที่พิมพ์ภาพผิวสัมผัสจะอาบน้ำยาเพื่อเคลือบผิวเพิ่มคุณสมบัติในการดูดซับน้ำหมึกซับลิเมชั่นได้ดี (ไม่มีชั้นฟิลม์เคลือบผิว) เมื่อนำไปเข้าเครื่องกดความร้อน ด้วยคุณสมบัติของหมึกพิม์ น้ำหมึกจะระเหิดย้อมลงไปถึงเส้นของเนื้อผ้า(ใยสังเคราะห์) หากเป็นผ้าเนื้อผสมเส้นใยคอตตอน ส่วนของเส้นใยคอตตอนจะไม่สามารถย้อมติดหรือติดได้ไม่ดี ผลลัพ์ที่ได้จึงให้ความสดสว่างคมชัดลวดลายซึมถึงเนื้อผ้าเป็นเนื้อเดียวกันโดยไร้กรอบฟิลม์(เนื่องจากไม่มีฟิลม์เคลือบที่ผิวกระดาษ) ในกรณีที่นำมาใช้งานกับผ้าเนื้อผสมเส้นใยธรรมชาติ หรือนำกระดาษไปใช้กับหมึกผิดประเภท เช่นใช้กับหมึกพิกเมนต์หมึกจะไม่สามารถระเหิดย้อมลงไปในเส้นใยนได้ทำให้ภาพพิม์ไม่คมชัดนำไปซักเกิดการหลุดลอกของลวดลาย

โพลี เฟล็กซ์ /ไวนิลทรานเฟอร์ โพลีเฟล็กซ์และไวนิลเป็นวัสดุประเภทเดียวกับพลาสติกประเภท PVC มีคุณสมบัติทนน้ำและมีความคงทนสูงเมื่อโดนความร้อนจะละลายติดลงไปบนเนื้อผ้า ในงานสกรีนเสื้อแบบรีดความร้อนนิยมนำมาใช้สกรีนหมายเลขเสื้อกีฬา โลโก้ และตัวอักษร ผลลัพธ์ที่ได้จะให้ผิวสัมผัสที่ค่อนข้างมีน้ำหนัก มีความคมชัดและมีความเงา ในงานสกรีนเสื้อที่มีลวดลายเป็นตัวอักษรสามารถใช้ตัดได้ด้วยมือ แต่หากเป็นงานที่มีลวดลายซับซ้อนมากจำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการตัดอย่าง Cutting plotter เข้าช่วย เช่นเดียวกับการตัดสติกเกอร์ โดยขั้นตอนจะเริ่มจากออกแบบงานหรือลวดลายในโปรแกรมกราฟิกแล้วสั่งตัดลวดลาย ผ่านเครื่องตัด หลังจากนั้นลอกพื้นที่ส่วนที่ไม่ใช่ลวดลายออกแล้วจึงนำไปกดทับด้วยเครื่องรีดร้อนในขั้นตอนสุดท้ายที่อุณหภูมิประมาณ 150 องศาเซศเซียส ประมาณ 10 นาที (หรือขึ้นกับคำแนะนำแต่ล่ะผลิตภัณฑ์) ในปัจจุบันวัสดุประเภทโพลีเฟล็กซ์และไวนีลสำหรับงานทรานเฟอร์มีให้เลือกทั้ง แบบที่เป็นสีมาตราฐาน และแบบที่มีเอฟเฟ็ค ประเภทผิวโลหะ ผิวเป็นประกายกากเพชร หรือผิวสะท้อนแสง โดยขายเป็นม้วน ๆ
วิดีโอการสกรนเสื้อด้วย Flex Transfer
พลาสติซอลทรานเฟอร์ เป็นในการสกรีนลวดลายลงบนเสื้อที่อยู่กึ่งกลางระหว่างการพิมพ์ตรงและการพิมพ์แบบทรานเฟอร์เนื่องจากการทำให้ลวดลายติดลงบนกระดาษทรานเฟอร์จะต้องใช้การสกรีนหมึกพิมพ์ตรงลงบนกระดาษเช่นเดียวกับการซิลค์สกรีนเสื้อ โดยอาศัยหมึกพิมพ์สกรีนพลาสติซอลซึ่งมีคุณสมบัติของพลาสติก PVC เป็นองค์ประกอบ เมื่อสกรีนติดลงบนกระดาษแล้วนำไปกดทับด้วยความร้อนตัวหมึกพิมพ์จะทำปฏิกิริยากับความร้อนละลายติดซึมลงบนเนื้อผ้าเช่นเดียวกับ การสกรีนตรง การสกรีนแบบพลาสติซอลถือเป็นอีกเทคนิควิธีที่เป็นที่นิยมในต่างประเทศเนื่องจากได้คุณภาพงาานสกรีนที่ไม่แตกต่างจากการสกรีนแบบซิลค์สกรีนและไม่ต้องมีการทำสต๊อกสินค้า(เสื้อยืดที่ถูกสกรีนลวดลายพร้อมขาย) เพียงแต่สต๊อกเสื้อยืดเปล่าและงานพลาสติซอลทรานเฟอร์เตรียมไว้ เมื่อมีออเดอร์เข้ามาจึงเริ่มทำการผลิต(ถ่ายลายลงบนเสื้อยืดผ่านเครื่องรีดร้อน) อย่างไรก็ตามเทคนิคนี้ก็เพิ่มต้นทุนให้กับการสกรีนเสื้อโดยมีต้นทุนด้าน กระบวนการในงานทรานเฟอร์เพิ่มเข้ามา และเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษโดยเฉพาะกับงานสกรีนที่มีสีมากว่าหนึ่งสี หรือลวดลายที่ซับซ้อน เนื่องจากมีตัวแปรที่เพิ่มเข้ามาระหว่างกระบวนการคือกระดาษทรานเฟอร์ ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาถึงคุณลักษณะประเภทของกระดาษ การลำดับสีที่จะสกรีนก่อนหลัง การออกแบบลวดลายเพื่อหลีกเลี่ยงการซ้อนทับกันทำให้เกิดชั้นสีที่หนา (โดยปกติเนื้อสีพลาสติซอลจะมีความหนาของเนื้อสีอยู่แล้ว) ดังนั้นในงานสกรีนพลาสติซอลทรานเฟอร์ที่มีลวดลายซับซ้อนจะต้องมีการทดสอบให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการก่อนลงมือผลิต

ออฟเซ็ททรานเฟอร์ การพิมพ์ลายลงบนกระดาษทรานเฟอร์ด้วยวิธีนี้เป็นการนำระบบการพิมพ์ออฟเซ็ทที่ ใช้ในงานสิ่งพิมพ์มาใช้พิมพ์ลวดลายลงบนกระดาษทรานเฟอร์ แล้วนำไปรีดร้อนติดลงบนเสื้อ

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
บทความ โดย แพนด้าสกรีน อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ
  • สกรีนเสื้อแบบพลาสติซอลทรานเฟอร์
  • สกรีนทรานเฟอร์ลงบนเสื้อสีดำ
    เสื้อยืดสีดำสกรีนลาย
  • ประเภทการพิมพ์สกรีน
  • สกรีนฟรอยด์(เลเซอร์ทรานเฟอร์)
  • ทดสอบกระดาษทรานเฟอร์สำหรับเครื่องพิมพ์เลเซอร์
  • สกรีนเสื้อด้วยวิธีทรานเฟอร์ความร้อน
  • กระดาษทรานเฟอร์ไร้กรอบฟิลม์ (self weeding transfer paper)