การสกรีนภาพเหมือนด้วยเทคนิคการแยกสีแบบ CMYK

งานสกรีนภาพเหมือนโดยอาศัยเทคนิคการแยกสี CMYK ( 4 Process color screen printing)

ในงานสกรีนภาพเหมือน เช่น ภาพถ่าย ภาพคน หรือภาพสามมิติแบบเหมือนจริง ได้นำหลักการของการสร้างภาพแบบ Halftone ซึ่งรู้จักกันดีในการนำไปใช้กับสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ การสร้างภาพแบบ Halftone อาศัยหลักการของการการสร้างเม็ดสีขนาดแตกต่างกันแล้วนำมาเรียงต่อกันในระยะของแต่ล่ะเม็ดสีที่แตกต่างกันเพื่อให้เกิดความหนาแน่น(ต่อพื้นที่)ต่างกัน เมื่อเรามองภาพแบบ Half tone ในระยะที่เหมาะสมจะเกิดการมองเห็นเป็นภาพต่อเนื่องโล่โทนจากสีเทาอ่อนบริเวณที่เม็ดสีมีขนาดเล็กและความหนาแน่นของเม็ดสีต่อพื้นที่น้อยและเม็ดสีเริ่มใหญ่ขึ้นและมีความหนาแน่นมากขึ้นก็จะมองเห็นเป็นสีเทาที่เข้มขึ้นและมองเห็นเป็นสีดำสนิทในบริเวณที่มีเม็ดสีอัดแน่นอยู่เต็มพื้นที่

ภาพการไล่โทน

สำหรับการสกรีนเสื้อที่เป็นภาพกราฟิกสีเดียวที่มีการไล่เฉด ( Gradient ) เราสามารถใช้หลักการ Half tone โดยการแปลงภาพไปเป็น Haft tone แล้วนำไปทำแม่พิมพ์บล๊อกสกรีน โดยเลือกใช้ผ้าสกรีนที่เบอร์ละเอียดกว่าปกติ(ซึ่งเหมาะกับการสกรีนที่ต้องการเก็บรายละเอียดของงาน) ก็สามารถได้ผลงานที่ผ่านการสกรีนออกมาเหมือนมีการไล่โทนด้วยการใช้สีสกรีนเพียงสีเดียว อย่างไรก็ตามหากต้องการนำไปใช้กับการสกรีนภาพเหมือน ภาพถ่าย ภาพคน หรือภาพเสมือนจริง หลักการที่นิยมนำมาใช้สำหรับสกรีนบนเสื้อสีอ่อน คือการสกรีนด้วยเทคนิค Process color screen printing หรือที่เรารู้จักกันในงานสิ่งพิมพ์คือการพิมพ์แบบสอดสี หรือ เอฟเซ็ท 4 สี (Offset printing) ซึ่งในงานสกรีนเสื้อก็ใช้หลักการเดียวกัน

สำหรับการนำหลักการสร้างภาพแบบ Halftone มาใช้คู่กับหลักการพิมพ์เอฟเซ็ท 4 สีในงานสกรีนเสื้อ จะต้องสร้างแม่พิมพ์บล๊อกสกรีน 4 บล๊อกแยกตามสีหลักทั้ง 4 สี คือ Cyan (C), Magenta (M) , Yellow (Y), Black (K) ซึ่งวิธีการสร้างแม่พิมพ์จะเริ่มตั้งแต่กระบวนการแยกสีออกเป็น 4 Channel แล้วแปลงเป็นภาพ Hafttone โดยแต่ล่ะ Channel สีจะถูกปรับองศาเพื่อให้เกิดการเหลือบทับกันเกิดรูปแบบการสร้างสีใหม่ที่เหมาะสมสำหรับการมองด้วยเห็นด้วยตา องศาของแต่ล่ะ Channel ที่นิยมใช้สำหรับสี CMK คือ 30 องศา เช่น C เริ่มที่ 45 องศา , M = 75 องศา , K = 105 องศา สำหรับสีเหลืองเพื่อลดการเกิด moiré pattern (การเหลือบทับของสีที่ทำลายรูปแบบการมองเห็นด้วยตาที่สมบูรณ์) จะอยู่ที 15 องศาโดยแทรกอยู่ระหว่างสีใดสีหนึ่งเมื่อนำทั้ง 4 สีมาเรียงจะได้ดังนี้ CMYK 45,75,90,105 เมื่อจบกระบวนการแยกสีผ่านโปรแกรมเฉพาะทางค่าสีจะถูกส่งไปยังเครื่องยิงฟิลม์แล้วจึงนำฟิลม์ไปใช้ในการอัดบล๊อกสกรีนต่อไป

เพื่อให้เห็นหลักการแยกสี CMYK สำหรับใช้ในงานสกรีนเสื้อที่เป็นภาพเหมือน เราสามารถทำเองได้ในโฟโตช้อปหรือโปรแกรมกราฟิกทั่ว ๆ ไป (ในแต่ล่ะโปรแกรมกราฟิกจะต่างกันบ้างบางฟังชันก์ใช้งาน) ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1
เริ่มจากแปลงโหมดสีของภาพต้นฉบับให้อยู่ในโหมด CMYK ดังรูป

Halftone

ขั้นตอนที่ 2 ไปที่ Tab Channel เพื่อทำการ Split Channels ออกเป็น 4 Channels โดยแต่ล่ะ Channels จะถูกเปลี่ยนไปอยู่ในโหมดสี Grayscale โดยอัตโนมัติ

ขั้นตอนที่ 3
แปลงภาพในแต่ล่ะ channel ให้เป็นภาพแบบ Half tone โดยเริ่มจาก C - M- Y- K ตามลำดับ

แปลงภาพจาก Grayscale ไปเป็น Haftone
ให้ไปที Mode-->Bitmap จะมีหน้าต่างให้เลือกค่า Output Resolution และ Methond ในช่อง Resoloution เลือกที่ความละเอียด 300 dpi ส่วน Methond เลือกที่ Halftone Screen หลังจากนั้นจะพบหน้าต่างให้เลือกการปรับตั้งค่า Frequency / Angle / Shape
Frequency สำหรับนำไปใช้ในงานสกรีนอยู่ที่ 70 -150 LPI
Angle เริ่มจาก C = 45 , M = 75 , Y = 90 , K = 105 ตามลำดับ
Shape รูปทรงเม็ดสีที่นิยมใช้ในงานสกรีนเสื้อคือ รูปทรงวงรี ให้เลือกที่ Elipse
ดูภาพประกอบ


หลังจากภาพถูกแปลงเป็น Halftone จะได้ผลดังรูป


ขั้นตอนที่ 4 ทำการลบแบล็คกราวน์สีขาวทิ้งโดยใช้เครื่องมือ Magic Eraser Tool โดยปรับ Torerlance เป็น 0

ขั้นตอนที่ 5 ปรับ Mode สีของ Channel C กลับไปอยู่ที่ RGB และแทรก Layer สำหรับทำเป็นสีแบล็คกราวน์สีขาวของเสื้อ

ปรับ Layer style ไปใช้ Color Overlay แล้วทำการเลือกสี Pantone process cyan

เมื่อจบในขั้นตอนที่ 5 สำหรับการทำงานบน Channel Cyan ให้กลับไปเริ่มทำขั้นตอนที่ 3 และ 4 ใหม่สำหรับ Channel Magenta , Yellow, Black เพื่อแปลงภาพให้อยู่ในโหมด Halftone โดยเมื่อทำเสร็จถึงขึ้นตอนที่ 4 สำหรับ Channel Magenta , Yellow, Black ให้ทำการ Copy ภาพแล้วนำมาแทรกร่วมกับ Channel Cyan แล้วจึงทำการแปลง Layer style ของ Magenta , Yellow , Black เป็น Color Overlay เช่นเดียวกัน

ขั้นตอนที่ 6
ทำการ Merge Layer โดยการแทรก Layer เปล่าเข้าไปใต้ Layer Cyan, Magenta,Black,Yellow เพื่อใช้ในการ Merge Layer

ขั้นตอนที่ 7
ทำการ Merge Layer และปรับคุณสัมบัติ Layer เป็น Muliply จะได้ภาพที่เกิดจากการซ้อนภาพ Halttone ของแต่ล่ะ Channel สี CMYK จนเกิดการมองเห็นเป็นภาพเหมือนจริงดังรูป

เมื่อทำการขยายภาพจะเห็นการเกิดสีใหม่ตรงบริเวณที่เกิดการซ้อนทับของเม็ดสี ซึ่งสีสกรีนเสื้อที่ใช้ในงานสกรีนเสื้อสำหรับการสกรีนแบบ 4 process color โดยเฉพาะก็จะมีคุณสมบัติโปร่งแสงโดยบริเวณที่เกิดการสกรีนซ้อนทับของสีก็จะเกิดการดูดกลืนผสมกันเป็นสีใหม่ซึ่งถือเป็นหลักการของการสกรีนเสื้อในแบบภาพเหมือนจริงที่ใช้เทคนิคการแยกสีแบบ CMYK

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
บทความ โดย แพนด้าสกรีน อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ
  • การแยกสีในงานสกรีนเสื้อ
  • การสกรีนภาพเหมือนด้วยเทคนิคการแยกสีแบบ CMYK