แนวทางการเลือกเครื่องสกรีนเสื้อ ตอนที่2

แนวทางการเลือกเครื่องสกรีนเสื้อตอนที่ 2 (ต้นทุนทางอ้อม)

จากบทความครั้งก่อนได้เขียนถึงเรื่องการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องสกรีนเสื้อไปแล้วบทความนี้จะขอเพิ่มเติมในเรื่องของ"ต้นทุนทางอ้อมหรือต้นทุนแฝง"ซึ้งไม่ถูกรวมอยู่ในราคาของเครื่องสกรีนเสื้อและค่าหมึกพิมพ์ ต้นทุนแฝงเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการมือใหม่มักมองข้ามไม่ลงลึกในรายละเอียด พอได้ลงมือทำงานผ่านกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบและผ่านการรับงานไปซักระยะหนึ่งจึงได้ทราบถึงต้นทุนแฝงที่เพิ่มเข้ามาและแน่นอนว่าเมื่อต้นทุนเพิ่มกลืนส่วนของกำไรที่เคยตั้งไว้ หากราคาค่าบริการไม่สามารถครอบคลุมต้นทุนค่าใช้จ่ายเหลือเก็บเป็นกำไรก็ย่อมจะทำให้การอยู่รอดทางธุรกิจเป็นไปได้ยาก

สำหรับต้นทุนทางอ้อมในกระบวนการผลิตเสื้อยืดด้วยเครื่องสกรีนเสื้อ DTG ที่ผมอยากแนะนำให้พิจารณามี 2 ส่วนหลัก ๆ คือ

"ส่วนของหัวพิมพ์" เนื่องจากหัวพิมพ์ในเครื่องสกรีนเสื้อถือเป็นอุปกรณ์หลักที่ถือเป็นหัวใจสำคัญและเป็นชิ้นส่วนที่มีโอกาสสึกหรอตามอายุการใช้งานและการดูแลบำรุงรักษาหรือการใช้งานที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงควรลงลึกในรายละเอียดทางเทคนิค เช่นหัวพิมพ์มีกี่หัว ราคาค่าเปลี่ยนหัวพิมพ์ต่อหนึ่งหัว การรับประกัน อายุการใช้งานโดยทั่ว ๆ ไป เพื่อนำมาคิดเป็นต้นทุนอุปกรณ์สิ้นเปลืองตามอายุการใช้งาน

"การดูแลบำรุงรักษา" และข้อปฏิบัติในการใช้งาน ถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยยืดอายุการใช้งาน และลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อหัวพิมพ์ ดังนั้นผู้ใช้งานจำเป็นต้องศึกษาคู่มือวิธีใช้งานและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ตัวอย่างเช่น

- การบำรุงรักษาตามช่วงเวลา (Periodically maintenance) เมื่อใช้หัวพิมพ์ไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง จำเป็นต้องมีการล้างหัวพิมพ์ (Power Clean) เพื่อยืดอายุการใช้งานหัวพิมพ์และป้องการการอุดตัน

- กระบวนทำความสะอาดเบื้องต้นของหัวพิมพ์(Nozzle check) ประจำวัน ในเครื่องสกรีนเสื้อหลาย ๆ รุ่นในต่างประเทศจะมีคำแนะนำในการล้างหัวพิมพ์ในโหมดปกติก่อนเริ่มงานและหลังใช้งานทุกวัน เพื่อไล่อากาศหรือหมึกพิมพ์ที่ตกค้างอยู่ในท่อส่ง

"ส่วนของหมึกพิมพ์" หมึกพิมพ์ถือเป็นวัสดุสิ้นเปลืองที่มีราคาค่อนข้างสูง โดยปกติเราจะคำนวณต้นทุนค่าหมึกแบบคร่าว ๆ คือค่าหมึกต่อการพิมพ์เสื้อ 1 ตัว แต่ในความเป็นจริงค่าหมึกพิมพ์ที่สูญเสียไปกับการบำรุงรักษา(การล้างหัวพิมพ์) ก็ถือเป็นความสิ้นเปลืองที่ต้องนำมาคิดรวมอยู่ในต้นทุนการผลิตด้วย(เราสามารถรู้ค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนต่อเมื่อรันระบบจนครบกระบวนการผลิตไประยะนึงแล้วนำมาปรับราคาค่าบริการที่เหมาะสม)

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
บทความ โดย แพนด้าสกรีน อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ
  • Epson ตัดแบ่งชิ้นเค้ก เครื่องสกรีนเสื้อ DTG (ตอนที่ 1)
  • เสื้อยืด muppets by threadless
  • แนวทางในการเลือกเครื่องสกรีนเสื้อแบบพิมพ์ตรงลงเนื้อผ้า ตอนที่1
  • แนวทางการเลือกเครื่องสกรีนเสื้อ ตอนที่2
  • แนะนำเครื่องสกรีนเสื้อ DTG รุ่นล่าสุดของ Brother
    เครื่องสกรีนเสื้อ DTG