Direct to garment printing software

RIP Software (Raster image processing software) คือซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการประมวลผลภาพกราฟิกแบบบิทเมพ (Bitmap Graphics) ซึ่งมีโครงสร้างมาจากการจัดเรียงจุดสี (Pixels) ต่อเนื่องกันจนมองเห็นเป็นรูปภาพ โดยภาพประเภทนี้จะได้มาจาก ภาพสแกน ภาพถ่ายจาก กล้องถ่ายรูปดิจิตอล ภาพที่สร้างจากโปรแกรมออกแบบกราฟิกในนามสกุล JPEG TIFF GIF BMP เป็นต้น เมื่อรูปภาพผ่านการประมวลผลเพื่อแยกค่าสีในแต่ล่ะพิกเซลแล้ว ค่าตัวเลขดิจิตอล(ศูนย์หนึ่ง)จะถูกส่งไปให้กับเครื่องพิมพ์เพื่อฉีดหมึกในแต่ล่ะจุดสีตามตำแหน่งที่อ่านค่าได้

สำหรับ RIP software ในงานสกรีนเสื้อ DTG (Direct to garment printing software for DTG printer) จะมีความแตกต่างจาก RIP ซอฟต์แวร์หรือไดร์เวอร์มาตราฐานที่ติดมากับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ททั่ว ๆ ไป กล่าวคือในไดร์เวอร์ปริ๊นเตอร์ทั่ว ๆ ไป จะมีโหมดในการจัดการเกี่ยวกับเอกสารเช่นกรณีพิมพ์ตัวอักษรล้วน ๆ จะสามารถปรับเป็นโหมด ขาว-ดำ หรือในกรณีสั่งพิมพ์รูปภาพก็จะมีโหมด Color Enhancement เพื่อปรับให้สีสดใสกว่าความเป็นจริง เป็นต้น แต่ในงานสกรีนเสื้อพื้นผิววัสดุเป็นเนื้อผ้าและไม่ได้มีเพียงสีขาวแต่มีหลายหลากสีรวมทั้งยังมีทั้งสีอ่อนและสีเข้ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเสื้อสีเข้มการพิมพ์ด้วยชุดหมึก CMYK ซึ่งมีคุณสมบัติโปร่งแสงไม่สามารถจะทับสีของเนื้อผ้าได้สนิท ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้มีความคลาดเคลื่อนสีจืดหรือพิมพ์ไม่ติดและเพี้ยนจากต้นฉบับซึ่งเป็นอุปสรรคเดียวกันกับการสกรีนเสื้อแบบซิลค์สกรีนที่ต้องใช้เทคนิคการรองพื้นด้วยสีขาวก่อนสกรีนด้วยสีปกติ

ด้วยเหตุผลข้างต้นในตลาดเครื่องพิมพ์เสื้อ DTG ทั้งผู้ผลิตเครื่องพิมพ์เองและผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ได้มีการพัฒนา RIP Software ขึ้นโดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
Print to RIP คือการสั่งพิมพ์ตรงผ่านโปรแกรมออกแบบกราฟิก เช่น Photoshop , Coral draw โดยมี RIP Software เป็น Background process ทำงานอยู่เบื้องหลัง เพื่อส่งค่าไปให้กับเครื่องพิมพ์เช่นเดียวกับไดร์เวอร์ของเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ททั่ว ๆ ไป แต่จะต่างในเรื่องของการปรับตั้งค่าก่อนพิมพ์ที่แต่ล่ะผู้ผลิต Rip software สำหรับเครื่อง DTG ก็จะพัฒนาฟีเจอร์ในการควบคุมจัดการเกี่ยวกับสีบนความรู้และหลักการในการสกรีนเสื้อแบบซิลค์สกรีนผนวกกับความเข้ากันได้กับเครื่องพิมพ์รุ่นที่ซอฟต์แวร์ของตนสนับสนุน ซึ่ง Rip ซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะเหมาะกับผู้ที่มีความถนัดในการใช้โปรแกรมออกแบบกราฟิก เนื่องจากจำเป็นต้องมีขั้นตอนเตรียมงานต้นฉบับนั่นคือการแยกสีก่อนสั่งพิมม์

Print from RIP ซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะเป็นแอพพลิเคชั่นที่พัฒนา User interface ออกมามีหน้าตาคล้ายกับโปรแกรมด้านงานกราฟิกเพื่อใช้ในกระบวนการเตรียมงานต้นฉบับ(การแยกสี) ผนวกเข้ากับฟีเจอร์ที่ใช้ควบคุมจัดการอื่น ๆ เช่น รองรับการพิมพ์หมึกสีขาวรองพื้น ซึ่งก็ต่างกันไปตามการพัฒนาโปรแกรมของแต่ล่ะเจ้า เช่นของ MultiRIP software ตัวโปรแกรมมีฟีเจอร์ในการสร้างเลเยอร์ให้กับพื้นที่ที่จะพิมพ์หมึกขาวและส่วนที่เป็นไฮไลท์แยกออกมาจากงานต้นฉบับอัตโนมัติ และสามารถควบคุมปริมาณในการพ่นหมึกเพื่อผลด้านความประหยัดหมึกพิมพ์ หรือในกรณีที่งานดีไซน์มีส่วนที่เป็นสีดำซึ่งหากต้องการพิมพ์ลงบนเสื้อที่เป็นสีดำสีเดียวกันกับงานต้นฉบับ ก็จะมีฟีเจอร์ที่สั่งไม่พิมพ์สีดำ โดยสร้างเลเยอร์ใหม่เพื่อแยกพื้นที่ส่วนที่เป็นสีดำออกไปจากงานต้นฉบับก่อนสั่งพิมพ์

จะเห็นได้ว่านอกจากเรื่องความสำเร็จในการออกแบบหรือการนำมาประยุกต์เครื่องพิมม์แบบอิงเจ็ทให้สามารถป้อนถาดใส่เสื้อเพื่อสั่งพิมพ์หมึกลงบนเนื้อผ้าซึ่งได้กล่าวไว้ในคราวที่แล้วเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องสกรีนเสื้อ DTG ตัวซอฟต์แวร์เฉพาะทางที่นำมาใช้ควบคุมสั่งการพ่นหมึกในเครื่องพิมพ์ในงานสกรีนเสื้อ DTG ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในงานพิมพ์ตรงลงบนเนื้อผ้า (direct to garment) ที่ได้สีใกล้เคียงงานต้นฉบับไม่ว่าจะพิมพ์บนเสื้อสีอ่อนหรือสีเข้ม

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
บทความ โดย แพนด้าสกรีน อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ
  • เทคโนโลยีเครื่องสกรีนเสื้อดิจิตอล DTG (direct to garment)
  • Direct to garment printing software
  • แนวทางในการเลือกเครื่องสกรีนเสื้อแบบพิมพ์ตรงลงเนื้อผ้า ตอนที่1
  • แนวทางการเลือกเครื่องสกรีนเสื้อ ตอนที่2
  • แนะนำเครื่องสกรีนเสื้อ DTG รุ่นล่าสุดของ Brother
    เครื่องสกรีนเสื้อ DTG