กระดาษทรานเฟอร์ไร้กรอบฟิลม์ (self weeding transfer paper)

หากได้ติดตามอ่านบทความเกี่ยวกับงานสกรีนเสื้อประเภททรานเฟอร์ การพิมพ์ลายลงบนเนื้อผ้าคอตตอน 100 % หรือเนื้อผ้าที่มีคอตตอนเป็นส่วนผสมหลัก จำเป็นต้องใช้หมึกประเภทพิกเมนต์ + พิมพ์ลงบนกระดาษทรานเฟอร์ประเภทที่มีชั้นฟิลม์เคลือบผิวหน้ากระดาษ (โดยชั้นฟิลม์มีคุณสมบัติทางเคมีที่ช่วยในการยึดเกาะช่วยให้หมึกติดอยู่บนเส้นใยของผ้า) ผลเสียคือทำให้เกิดกรอบสีสี่เหลี่ยมใส ๆ จาง ๆ ดูแล้วไม่สวยงาม ดังนั้นก่อนนำไปพิมพ์ลงเสื้อ ผู้ใช้งานจะต้องทำการตัดรอบลาย(ไดคัท) ส่วนที่เป็นฟิลม์ทิ้ง อย่างไรก็ดีการไดคัทก็ทำได้เพียงตัดตามเส้นรอบลวดลาย (เช่น ตัวอักษร Oจะตัดได้เพียงชิดขอบด้านนอก ส่วนพื้นที่สีขาวด้านในก็จะถูกพิมพ์ลงไปเป็นฟิลม์บนเสื้อด้วย)

"นวัตกรรมใหม่กระดาษทรานเฟอร์แบบไม่ต้องไดคัท (Self weeding transfer paper)" เป็นนวัตกรรมเมื่อ 4-5 ปีมาแล้วในต่างประเทศทางยุโรป-อเมริกา แม้ปัจจุบันจะแพร่หลายในต่างประเทศแต่ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่นิยม นวัตกรรมซึ่งก้าวข้ามอุปสรรคใหญ่ของการใช้กระดาษทรานเฟอร์คือ ผู้ใช้งานไม่ต้องมานั่งไดคัทฟิลม์ทิ้ง เมื่อพิมพ์ลายด้วยเครื่องพิมพ์เลเซอร์ลงบนกระดาษก็สามารถนำไปเข้าเครื่องกดความร้อนพิม์ลายลงเสื้อได้เลย หลังจากทำการลอกกระดาษออกจากเสื้อ ส่วนที่เป็นลายจะติดลงไปบนเนื้อผ้า ส่วนที่เป็นฟิลม์จะถูกลอกติดมาพร้อมกระดาษ

จากรูปคือกระดาษทรานเฟอร์ผู้เขียนนำมาใช้ทดสอบผ่านการใช้งานแล้ว ส่วนสีเทาคือฟิลม์ที่ลอกติดมากับกระดาษ ส่วนสีขาวคือส่วนของลวดลายที่ถูกลอกติดลงไปบนเสื้อ

ทำไมจึงต้องเป็นเครื่องพิมพ์เลเซอร์ เนื่องจากหมึกพิมพ์หรือผงหมึกมีองค์ประกอบของ polystyrene acrylic และ polyester resin ซึ่งคุณสมบัติในการยึดเกาะบนเส้นใยผ้าได้ดีเช่นเดียวกับหมึกพิมพ์ในงานสกรีนเสื้อ และตัวผงหมึกเองยังสามารถหลอมละลายเปลี่ยนสถานะกึ่งของเหลวคล้ายเจลเมื่อถูกความร้อน (จากเครื่องกดความร้อน)

หลักการของกระดาษทรานเฟอร์เลเซอร์ (โดยความเข้าใจของผู้เขียนเองไม่มีทฤษฏีมายืนยัน) พอจะอธิบายหลักการได้ดังนี้คือ

ส่วนที่เป็นลวดลายซึ่งถูกพิม์จากเครื่องพิม์เลเซอร์ลงไปบนกระดาษ เมื่อนำไปเข้าเครื่องกดความร้อนเพื่อพิมพ์ลายลงเสื้อ ขณะที่ได้รับความร้อนจากหน้าสัมผัสของเครื่องกดความร้อน ผงหมึกพิมพ์เลเซอร์ส่วนที่เป็นลวดลายจะหลอมเป็นเนื้อเดียวกับชั้นฟิลม์บนกระดาษทรานเฟอร์ และแรงกดทำให้หมึกพิมพ์ซึ่งมีลักษณะกึ่งของเหลวละลายติดลงไปบนเส้นใยของผ้า
ส่วนที่เป็นชั้นฟิลม์ล้วน ๆ ความร้อนได้เปลี่ยนสถานะของชั้นฟิลม์จนมีลักษณะคล้ายเจล แต่เนื้อฟิลม์มีองค์ประกอบทางเคมีที่ไม่สามารถยึดเกาะลงเส้นใยผ้าได้
ดังนั้นเมื่อสิ้นสุดการให้ความร้อนและแรงกด ทันทีที่ลอกกระดาษออกจากเสื้อ ส่วนที่เป็นชั้นฟิลม์จึงลอกหลุดออกมาพร้อมกระดาษ ส่วนที่เป็นลวดลายหมึกพิมพ์เลเซอร์จะติดลงไปบนเส้นใยเนื้อผ้า

...ติดตามต่อตอนต่อ ๆ ไปนะครับผู้เขียนจะนำผลการทดสอบมารีวิวให้ดูครับ

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
บทความ โดย แพนด้าสกรีน อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ
  • สกรีนเสื้อแบบพลาสติซอลทรานเฟอร์
  • สกรีนทรานเฟอร์ลงบนเสื้อสีดำ
    เสื้อยืดสีดำสกรีนลาย
  • ประเภทการพิมพ์สกรีน
  • สกรีนฟรอยด์(เลเซอร์ทรานเฟอร์)
  • ทดสอบกระดาษทรานเฟอร์สำหรับเครื่องพิมพ์เลเซอร์
  • สกรีนเสื้อด้วยวิธีทรานเฟอร์ความร้อน
  • กระดาษทรานเฟอร์ไร้กรอบฟิลม์ (self weeding transfer paper)