สกรีนเสื้อลายใหญ่ เทคนิคสกรีนทับเสื้อทั้งตัว ตอนที่ 2

คราวที่แล้วเกริ่นถึงคำจำกัดความของลายสกรีนขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยเทคนิคการสกรีนทับไปแล้ว คราวนี้จะกล่าวถึงกระบวนการทำงานนะครับว่ามีอุปสรรคและขั้นตอนที่แตกต่างอย่างไรบ้างกับการสกรีนเสื้อธรรมดา

ลายเคลื่อนตำแหน่ง เมื่อกระบวนการทำงานเปลี่ยนจากเสื้อที่สวมลงบนแท่นมาเป็นวางทับอยู่ด้านบนทำให้โอกาสที่เสื้อจะเคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิมย่อมมีมากขึ้นแน่นอน โดยเฉพาะเมื่อต้องทำงานกับลายมากกว่า 1 สี เนื่องจากการสกรีนสีที่สองจะมีแรงยึดเกาะบนเนื้อผ้า(จากสีที่ 1 ที่ถูกสกรีนลงไปกอ่น) กระทำกับหน้าสัมผัสของบล็อคทำให้เวลายกบล็อคเสื้อจะติดขึ้นมาเป็นผลให้เสื้อเคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิมได้ง่าย ดั้งนั้นในงานสกรีนแบบ Overall print จึงต้องอาศัยสเปย์เพิ่มการยึดเกาะหน้าสัมผัสระหว่างเสื้อกับแท่น( spay tack )อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อุปสรรคบริเวณตะเข็บ(คอเสื้อและแขนเสื้อ) คือส่วนที่ยกนูนขึ้นมาทำให้การลากแปรงปาดผ่านหน้าสัมผัสเกิดอาการสะดุดสีลงไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นจึงต้องหาวัสดุที่มีความยืดหยุ่นพอประมาณนำมารองใต้เสื้อ(วางบนแท่น)เมื่อมีแรงกดมากระทำด้านบนจึงเกิดการยุบตัวดูดซับแรงได้ และเพื่อให้ส่วนที่เป็นตะเข็บจมลงบนวัสดุที่นำมารอง สำหรับวัสดุที่เหมาะจะนำมาใช้รองสามารถใช้แท่นยางหรือผ้าที่มีความหนาพอประมาณ

สกรีนลายทับลงบนคอเสื้อ สำหรับลายที่พาดผ่านคอเสื้อ เทคนิคง่าย ๆ ที่กันไม่ให้ลายติดลงไปด้านในคอเสื้อสามารถทำได้โดยใช้กระดาษแข็งรองบริเวณคอเสื้อโดยสอดไว้ด้านใน

การลงแป้งช่วยลดเปอร์เซ็นความเสียหายของงาน หากเป็นการสกรีนหลาย ๆ สีเพื่อลดเปอร์เซ็นต์ความเสียหายของงาน และให้คุณภาพงานออกมาสมบูรณ์ที่สุด อาจต้องใช้วิธีลงแป้งด้านในเสื้อเพื่อให้หน้าสัมผัสมีความเรียบและช่วยเพิ่มการยึดเกาะ แต่ทั้งนี้การลงแป้งก็ทำให้เกิดความยุ่งยากกับผู้ใช้งานโดยต้องนำเสื้อไปซักก่อนในครั้งแรก(ไม่สามารถใส่ได้เลยเพราะเสื้อจะมีความแข็งกระด้าง) และเพิ่มขั้นตอนในกระบวนการเตรียมงานก่อนสกรีนมากขึ้นอีกเท่าตัว

เทคนิคผสมOverall print (aop) สินค้าประเภทเสื้อยืด ดีไซน์เป็นตัวกำหนดกระบวนการทำงานของช่างสกรีนอย่างเรา ๆ ออกแบบมาอย่างไร ช่างสกรีนก็ต้องหาเทคนิควิธีที่จะผลิตงานนั้นออกมาเป็นชิ้นงานสำเร็จให้ได้ ดั้งนั้นเราจึงมักเห็นงานที่ใช้เทคนิคผสม overall print ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น


- Overall print 1 สี
- Overall print 2 สี
- Overall print + 1 สีสกรีนปกติ
- Ovarall simulate color + 1 สีสกรีนปกติ


นอกจากการสกรีนลายทับเสื้อทั้งตัว ในกระบวนการผลิตเสื้อปริมาณมาก ๆ แพทเทิรน์ของลายไม่ได้ซีเรียสในเรื่องความต่อเนื่องระหว่างแขนเสื้อกับช่วงตัวเสื้อ ดังนั้นเพื่อความสะดวกในกระบวนการทำงาน สำหรับโรงานอุสหกรรมที่ผลิตจำนวนมาก ๆ นิยมสกรีนลงบนผ้าชิ้นแล้วนำมาเย็บเป็นเสื้อสำเร็จในภายหลัง โดยแยกสกรีนส่วนที่เป็นตัวเสื้อกับแขนเสื้อแยกชิ้นกัน

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
บทความ โดย แพนด้าสกรีน อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ
  • ลายสกรีนเสื้อใหญ่เต็มตัว
  • สกรีนเสื้อลายใหญ่ เทคนิคสกรีนทับเสื้อทั้งตัว ตอนที่ 2
  • สกรีนเสื้อลายใหญ่ เทคนิคสกรีนทับเสื้อทั้งตัว