กระบวนการสกรีน-พลาสติซอลทรานเฟอร์

กระบวนการทำงานสกรีนพลาสติซอลทรานเฟอร์

ขั้นตอนที่ 1(รูปที่ 1) เตรียมกระดาษทรานเฟอร์

ขั้นตอนที่ 2(รูปที่ 2) จัดเตรียมบล็อคสกรีนอัดบล็อคถ่ายลายเรียบร้อยแล้วพร้อมสกรีน(ขั้นตอนนี้ไม่ขอลงรายละเอียดนะครับ)

ขั้นตอนที่ 3(รูปที่ 3) ลงสีพลาสติซอลขาวขุ่นหน้าบล็อค

ขั้นตอนที่ 4(รูปที่ 4) ปาดสีพลาสติซอลผ่านบล็อคสกรีน

ขั้นตอนที่ 5(รูปที่ 5) ได้ลวดลายบนกระดาษทรานเฟอร์

จบกระบวนการแบบบล็อคสกรีน(1-5) จริง ๆ จะมีขั้นตอนอบสีให้แห้งเนื่องจากสีพลาสติซอลจะมีคุณสมบัติที่แห้งช้าไม่สามารถแห้งได้ในอุณหภูมิห้องปกติ ดังนั้นต้องใช้การอบความร้อนช่วยทำให้สีแห้งเร็วขึ้น หลังจากสีแห้งแล้วก็สามารถจัดเก็บลายได้เลย ใช้เมื่อไหร่ก็นำออกมาใช้งานในกระบวนการ ที่กำลังจะกล่าวถึงต่อไปในขั้นตอนที่ 6-8

ขั้นตอนที่ 6(รูปที่ 6) นำลายเข้าเครื่องกดความร้อน(Heat press) ในงานสกรีนแบบทรานเฟอร์ คว่ำลายลงบนเสื้อ

ขั้นตอนที่ 7(รูปที่ 7) กระบวนการกดและให้ความร้อน (สีพลาสติซอลจะละลายติดลงบนเสื้อ)

ขั้นตอนที่ 8(รูปที่ 8) เมื่อทำการลอกออกลายจะติดลงบนเสื้อ คุณสมบัติในเรื่องความคงทนและผิวสัมผัสไม่แตกต่างจากงานสกรีนแบบบล็อคครับ


**หมายเหตุ
- ลอกขณะที่กระดาษยังร้อนจะให้ผิวสัมผัสจะด้าน
-ลอกหลังจากปล่ยอให้กระดาษเย็นผิวสัมผัสจะมันวาว
-ลอกทันทีหลังยกแท่นกดออกผิวสัมผัสจะขรุขระเนื่องจากสีบางส่วนจะติดไปบนกระดาษ

มีสาธิตเป็นวีดีโอบนยูทูปลองเข้าไปชมครับ

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
บทความ โดย แพนด้าสกรีน อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ